วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556


สุนทรียภาพในบทเพลง


1.เพลงเพื่อชีวิต


  


 2. เพลงลูกกรุง


   


 3. เพลงสากล


 


4.เพลงลูกทุ่ง


 

5.เพลงสตริง


โคลงสี่

โคลงสี่ เป็นโคลงที่กวีนิยมแต่งมากที่สุดในกระบวนโคลง สามารถจำแนกโคลงสี่ออกได้หลายประเภท ดังนี้

โคลงสี่ในจินดามณี

ในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี กล่าวถึงวิธีการแต่งโคลงสี่ไว้หลายชนิดด้วยกัน คือ โคลงสี่สุภาพ โคลงตรีเพชรทัณฑี โคลงจัตวาทัณฑี โคลงขับไม้ โคลงในกาพย์ห่อโคลง โคลงดั้น ฯลฯ

โคลงสี่สุภาพ
๐ ๐ ๐ เอก โท๐ x (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ xเอก โท
๐ ๐ เอก ๐ x๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โทเอก โท ๐ ๐
หนึ่งบทมี 30 คำ แบ่งเป็น 4 บาท 3 บาทแรก บาทละ 7 คำ บาทที่สี่ 9 คำ แต่ละบาทแบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ เว้นบาทสุดท้าย 4 คำ มีสร้อยได้ 2 แห่ง โคลงบังคับเอก 7 โท 4 ตามตำแหน่ง สัมผัสคำที่ 7 บาทแรกกับคำที่ 5 ของบาทที่สองและบาทที่สาม กับสัมผัสคำที่ 7 บาทที่สองกับคำที่ 5 บาทที่สี่ เอกโทในบาทแรกอาจสลับที่กันได้ และอนุโลมให้ใช้คำตายแทนเอกได้ ดังตัวอย่าง
๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใครทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับไหลลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้าอย่าได้ถามเผือ ๚ะ
— ลิลิตพระลอ
โคลงตรีเพชรทัณฑี
๐ ๐ ๐ เอก โท๐ x (๐ ๐)
๐ เอก x ๐ ๐เอก โท
๐ ๐ เอก ๐ x๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โทเอก โท ๐ ๐
โคลงตรีเพชรทัณฑีนี้แสดงไว้แต่ตัวอย่าง แต่อาจสังเกตไว้ว่าเหมือนโคลงสี่สุภาพ แต่เลื่อนสัมผัสในบาทที่สอง จากเดิมคำที่ 5 ไปเป็นคำที่ 3 แทน ดังตัวอย่าง
๏ ปางนั้นสองราชไท้ดาบศ
สาพิมตไปมากล่าวแก้ว
ประทานราชเอารสสองราช
เวนแต่ชูชกแล้วจึ่งไท้ชมทาน ๚ะ
— (มหาชาติคำหลวง:สักกบรรพ)
ในจินดามณี ฉบับหลวงวงศาธิราชสนิท เรียกโคลงแบบนี้ว่า โคลงตรีพิธพรรณ
โคลงจัตวาทัณฑี
๐ ๐ ๐ เอก โท๐ x (๐ ๐)
๐ เอก ๐ x ๐เอก โท
๐ ๐ เอก ๐ x๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โทเอก โท ๐ ๐
โคลงจัตวาทัณฑี ก็คือโคลงสี่สุภาพที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาที่สองจากคำที่ 5 มาเป็นคำที่ 4 นั่นเองตามตัวอย่าง
๏ โคลงหนึ่งนามแจ้งจัต-วาทัณ ฑีฤๅ
บังคับรับกันแสดงอย่างพร้อง
ขบวรแบบแยบยลผันแผกชนิด อื่นเอย
ที่สี่บทสองคล้องท่อนท้ายบทปถม ๚ะ
โคลงขับไม้
๐ ๐ ๐ ๐ โท๐ x (๐ ๐)
๐ ๐ ๐ ๐ x๐ โท
๐ ๐ ๐ ๐ x๐ ๐ (๐ ๐)
๐ ๐ ๐ ๐ โท๐ โท ๐ ๐
โคลงขับไม้ เป็นโคลงสี่สุภาพที่ไม่บังคับเอก บังคับแต่โทสี่แห่ง บาทแรกโทจะอยู่คำที่ 4 หรือ 5 ก็ได้ ให้แต่งครั้งละ 2 บท มีสัมผัสระหว่างบทด้วย ตัวอย่าง
๏ พระเกียรติรุ่งฟุ้งเฟื่องฦๅชา
ทั่วท่วนทุกทิศานอบน้อม
ทรงนามไท้เอกาทศรถ
กระษัตรมาขึ้นพร้อมบ่เว้นสักคน ๚ะ
๏ เดชพระบารมีล้นอนันต์
จักนับด้วยกัปกัลป์ฤๅได้
สมภารภูลแต่บรรพ์นาเนก
ยิ่งบำเพ็งเพิ่มไว้กราบเกล้าโมทนา ๚ะ
โคลงกระทู้
โคลงกระทู้ เป็นลักษณะพิเศษของการแต่งโคลง โดยบังคับคำขึ้นต้นแต่ละบาทของโคลงส่วนมากมักใช้แต่งกับโคลงสี่ ซึ่งกำชัย [11] ระบุว่า โคลงกระทู้คือโคลงสี่สุภาพนั่นเอง
บาทละหนึ่งคำ เรียกว่า กระทู้เดี่ยว
บาทละสองคำ เรียกว่า กระทู้คู่
บาทละสามคำ เรียกว่า กระทู้สาม
บาทละสี่คำ เรียกว่า กระทู้สี่
ลักษณะการใช้กระทู้อาจใช้คำเดียวกันทุกบาท หรือคำต่างชุดกันก็ได้ ถ้าเป็นคำเดียวกันเรียกว่า กระทู้ยืน คำที่นำมาเป็นกระทู้อาจจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ เช่น ทะ-ลุ่ม-ปุ่ม-ปู อาจเป็นคำคล้องจองก็ได้ เช่น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น หรืออาจมีข้อความอื่นใดตามความประสงค์ของผู้ประพันธ์
ตัวอย่างโคลงกระทู้ ทะ-ลุ่ม-ปุ่ม-ปู
๏ ทะ แกล้วซากเกลื่อนฟื้นอยุธยา
ลุ่ม แห่งเลือดน้ำตาท่วมหล้า
ปุ่ม อิฐฝุ่นทรายสา-มารถกล่าว
ปู แผ่สัจจะกล้าป่าวฟ้าดินฟัง ๚ะ
— กระทู้พม่า
โคลงกระทู้กวีมักใช้แต่งท้ายเรื่อง เพื่อบอกจุดมุ่งหมายในการแต่งหรือชื่อผู้แต่ง นอกนั้นแต่งแทรกไว้ในวรรณกรรมเพื่อเพิ่มความไพเราะ แสดงความสามารถของผู้แต่ง นอกจากนี้กวีอาจจะดัดแปลงโคลงกระทู้ให้พิศดารตามความประสงค์ก็ได้ เช่น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงแต่งกาพย์สุรางค์คนางค์ 28 จำนวน 5 บท แล้วนำคำในกาพย์แต่ละวรรคแยกเป็นกระทู้เดี่ยวในโคลงกระทู้ 35 บท หรือนายชิต บุรทัต แต่งวิชชุมาลาฉันท์ 4 บท แล้วนำคำในแต่ละวรรคไปแยกเป็นกระทู้เดี่ยวเป็นโคลง 32 บท 

โคลงสามสุภาพ

 

โคลงสามสุภาพ

 บทหนึ่งมี 19 คำ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 5 - 4 คำตามลำดับ และอาจมีสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง ส่งสัมผัสเพิ่มจากโคลงสองอีกหนึ่งแห่งจากท้ายวรรคแรกไปยังวรรคที่สอง ดังตัวอย่าง

๐ ๐ ๐ ๐ ๐๐ ๐ ๐ เอก โท
๐ เอก ๐ ๐ โทเอก โท ๐ ๐ (๐ ๐)

๏ ล่วงลุด่านเจดีย์สามองค์มีแห่งหั้น
แดนต่อแดนกันนั้นเพื่อรู้ราวทาง ๚ะ
๏ ขับพลวางเข้าแหล่งแห่งอยุธเยศหล้า
แลธุลีฟุ้งฟ้ามืดคลุ้มมัวมล ยิ่งนา ๚ะ
— ลิลิตตะเลงพ่าย

โคลงสามดั้น

  บทหนึ่งมี 17 คำ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 5 - 2 คำตามลำดับ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสเหมือนโคลงสามสุภาพ ดังตัวอย่าง

๐ ๐ ๐ ๐ ๐๐ ๐ ๐ เอก โท
๐ เอก ๐ โท โทเอก ๐ (๐ ๐)

๏ พุทธศกสองพันปีเศษมีแปดสิบเข้า
เหตุรุ่มรุมร้อนเร้าย่ำยี ๚ะ
๏ มีเมืองทิศตกไถงคือม่านภัยมุ่งร้าย
เตลงคั่นบต้านได้เด็ดลง ๚ะ
— ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ แหล่งคุณ
เช่นเดียวกับโคลงสองดั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์โคลงสามดั้น โดยบังคับเอก 3 โท 2 ตำแหน่งเดียวกับโคลงสองดั้น ตัวอย่างจากลิลิตนารายณ์สิบปาง
๐ ๐ ๐ ๐ ๐๐ ๐ ๐ เอก โท
๐ ๐ ๐ เอก โทเอก ๐ (๐ ๐)

๏ มุ่งตรงสู่สรยุบรรลุถึงฝั่งใต้
เดินเลียบฝั่งนั่นไซร้ไป่นาน ๚ะ
๏ ประมาณได้โยชน์หนึ่งจึงพระดาบสเถ้า
สั่งสองโอรสเจ้าหยุดพลัน ๚ะ

การใช้โคลงสามในวรรณกรรม

  กวีไม่นิยมใช้โคลงสามแต่งวรรณกรรมตลอดเรื่อง นิยมแต่งสลับกับร่ายและโคลงชนิดอื่น ๆ รวมทั้งนิยมแต่งน้อยกว่าโคลงสองมาก อนึ่ง โคลงสามดั้นเริ่มปรากฏในวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง มีหลักฐานอยู่ในมหาชาติคำหลวง กัณฑ์ทานกัณฑ์ ซึ่งแต่งโดย พระรัตนมุนี วัดราชสิทธาราม ในสมัยรัชกาลที่ 2

ร้อยกรองไทย


ร้อยกรองไทย

1.โคลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับวรรณยุกต์ คือ เอก โท และบังคับสัมผัส มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นคำประพันธ์พื้นเมืองไทยทางเหนือและอีสานก่อนจะแพร่หลายมายังภาคกลาง



โคลงสองสุภาพ
หนึ่งบทมี 14 คำ แบ่งเป็น 3 วรรค 5 - 5 - 4 คำ ตามลำดับ และอาจเพิ่มสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสส่งจากท้ายวรรคแรกไปยังท้ายวรรคที่สอง ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท๐ เอก ๐ ๐ โท
เอก โท ๐ ๐(๐ ๐)
๏ โคลงสองเป็นอย่างนี้แสดงแก่กุลบุตรชี้
เช่นให้เห็นเลบงแบบนา ๚ะ
๏ ไก่ขันเขียวผูกช้างมาเทียมทั้งสองข้าง
แนบข้างเกยนาง ๚ะ
๏ ไป่ทันสางสั่งให้พระแต่งจงสรรพไว้
เยียวปู่เจ้าเรามา ๚ะ
๏ เผือจักลาแม่ ณ เกล้าอยู่เยียวเจียนรุ่งเช้า
จักช้าทางไกล ๚ะ
— ลิลิตพระลอ





หากแต่งหลาย ๆ บท นิยมส่งสัมผัสระหว่างบท จากท้ายบทแรกไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคแรกของบทต่อไป ตัวอย่าง

สุนทรียภาพในงานร้อยแก้ว


บทร้อยแก้ว ตาม “ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า คือ ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมายซึ่งยากกว่าการเขียนร้อยกรองนัก
บทร้อยแก้วของไทยเราที่้เป็นที่รู้จัก และน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เขียนเป็นบทร้อยแก้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคำสอนในพุทธศาสนา 





หลักการอ่านร้อยแก้วมีดังนี้

1.อ่านให้น่าฟัง ผู้อ่านจะต้องลองซ้อมอ่านโดยอ่านในใจครั้งหนึ่งก่อน เพื่อให้รู้เรื่องราวที่อ่านสามารถเข้าใจบทอ่านอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเข้าใจความหมายของคำ ถ้อยคำ สำนวนที่อ่านเข้าใจความคิดสำคัญของเรื่องที่อ่าน จึงจะสามารถเว้นวรรคตอนการอ่านให้ถูกต้องตามเรื่องราว สามารถใช้น้ำเสียงได้น่าฟัง มีการเน้นถ้อยคำอย่างถูกต้องสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และอ่านได้อย่างคล่องแคล่วราบรื่นไม่ตะกุกตะกัก
2.อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธีหรืออ่านให้ถูกต้องตามความนิยม การอ่านเป็นเรื่องของทักษะซึ่งจะต้องมีการฝึกฝนการอ่านอยู่เสมอ โดยอ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คำบางคำอ่านตามความนิยม ผู้อ่านจะต้องทราบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการอ่านคำต้องหมั่นสังเกตการอ่านของผู้อื่น คำใดควรอ่านอย่างไร ถ้าไม่แน่ใจควรใช้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ช่วยตัดสินการอ่าน
3.อ่านให้ชัดเจน ได้แก่ อ่านออกเสียง พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ อย่างถูกต้อง เช่น การอ่านออกเสียง ร – ล หรือคำควบกล้ำ ชัดเจน การอ่านไม่ชัดเจน นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าผู้อ่านขาดความระมัดระวัง แล้วยังขาดการศึกษาอีกด้วย
4. อ่านมีจังหวะ แบ่งวรรคตอนให้ถูกต้อง ภาษาไทยจะต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกที่ ผู้อ่านต้องอ่านเรื่องนั้น ๆ ให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อจะได้แบ่งวรรคตอนได้ถูกต้อง ฝึกการอ่านให้มีวรรคตอน ผู้อ่านอาจทำเครื่องหมาย / คั่นข้อความที่เว้นวรรค ถ้าผู้อ่านอ่านผิดวรรคตอนย่อมทำให้ความหมายผิดไปด้วย เช่น
“ ห้ามผู้หญิงนุ่งกางเกงในเวลาทำงาน”
มีความหมายว่า — ในเวลาทำงานห้ามผู้หญิงนุ่งกางเกงมาทำงาน
ถ้าเว้นวรรคตอนการอ่านผิดเป็นดังนี้ “ ห้ามผู้หญิงนุ่งกางเกงใน / เวลาทำงาน” ความหมายจะเปลี่ยนไป
5. อ่านให้คล่องแคล่ว ต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอ ไม่อ่านตะกุกตะกัก อ่านให้ต่อเนื่องกัน การอ่านให้คล่องแคล่วจะต้องรู้จักกวาดสายตาในการอ่าน ดังนี้
5.1 การจับสายตาที่ตัวอักษร สายตาจะต้องเคลื่อนไปบนตัวอักษรบนบรรทัดจากซ้ายไปขวา โดยจับสายตาไปทีละจุด จุดละ ๔ - ๕ คำ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุนทรียภาพของชีวิต

ศิลปะ คือ อะไร
-ศิลปะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีความประเสริฐกว่าสัตว์โลกชนิดอื่น สัตว์สร้างสีสันลวดลายขึ้นบนตัวเองเนื่องจากสัญชาติญาณในการพรางตัวจากภัยอันตราย หรือดึงดูดเพศตรงข้ามเพื่อสืบพันธ์ ดอกไม้มีสีสันรูปทรงสะดุดตาเพื่อล่อแมลงให้มาช่วยผสมเกสร เป็นต้น   

1. การผสมเกสรดอกชวนชม



2. การดึงดูดเพศตรงข้าม(นกยูงรำแพนหาง)



3.การพรางตัวจากอันตราย




ความหมายของสุนทรียภาพ

สุนทรียภาพ คือ อะไ







   

สุนทรียภาพ คื ความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าของความงามที่มีอยู่ในสรรพสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ และทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้น อันเกิดจากความพึงพอใจในความสุขที่ได้สัมผัสกับความงามโดยปราศจากความคิดเป็นเจ้าของและหวังผลตอบแทน
การตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ คืออะไร 
การตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ คือ การที่เราใช้จิตใจแสดงปฏิกิริยาต่อสภาพการณ์ในสิ่งแวดล้อม หรือการที่จิตประเมินค่าวัตถุที่มีคุณค่าทางความงาม ที่เร้าให้เกิดความรู้สึกภายในจิตใจ แม้ว่าความงามจะขึ้นอยู่กับจิต แต่ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกตามใจชอบ หากแต่ต้องขึ้นอยู่กับคุณค่าที่มีอยู่ในวัตถุนั้น ๆ ด้วย ฉะนั้นในการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางสู่ความซาบซึ้งควรมีความรู้ในการตัดสินคุณค่าความงาม
มุมมองทางความคิดที่มีความแตกต่างกัน หลากหลายออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ว่าใช้อะไรเป็นหลักในการตัดสินสิ่งต่าง ๆ และการตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มแนวคิด ดังนี้
1. กลุ่มที่ใช้ตนเองเป็นตัวตัดสิน
เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า จิตพิสัยหรืออัตวิสัย ” ( Subjectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า ความรู้ ความจริงและความดีงามทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีความจริงในตัวเอง หากแต่เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเท่านั้น ดังนั้น กฎเกณฑ์ในทางความรู้ ความจริงและความดีงามนี้จึงไม่มีอยู่จริง มนุษย์เท่านั้นที่มีอยู่จริงและจะเป็นตัวตัดสิน พร้อมทั้งเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมา มนุษย์แต่ละคนต่างมีมาตรวัดความจริงต่างกันออกไปโดยไม่ขึ้นอยู่กับใครหรือสิ่งใด เกณฑ์การตัดสินแบบนี้สามารถทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองได้ แต่หากความรู้สึกเชื่อมั่นนี้มีมากจนเกินไปอาจจะส่งผลทำให้เราเป็นผู้ที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตัวเอง ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลต่อไปคือ ทำให้เรามีโลกทัศน์ที่แคบ และเดียวดายในโลกกว้างนี้
2. กลุ่มที่เชื่อว่า มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวที่จะใช้ตัดสินได้
เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า วัตถุพิสัยหรือปรวิสัย ” ( Objectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า มีเกณฑ์มาตรฐานตายตัวแน่นอนในทางศิลปะ ซึ่งสามารถนำไปตัดสินผลงานได้ในทุกสมัย เกณฑ์มาตรฐานนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกใครหรือศิลปินคนไหน กลุ่มนี้มีความเชื่ออีกว่า สุนทรียธาตุมีอยู่จริง แม้ว่าเราจะเข้าถึงมันไม่ได้ก็ตาม แต่มันก็มีอยู่จริง และด้วยเหตุผลนี้ การที่เราตัดสินศิลปะออกมาไม่เหมือนกันก็เพราะเราแต่ละคนไม่สามารถเข้าถึงสุนทรียธาติที่แท้จริงได้หรือตัวจริงมาตรฐานนั่นเอง การที่เราจะเข้าถึงเกณฑ์มาตรฐานนี้ได้นั้น เราจำเป็นต้องฝึกพัฒนาจิตให้สมบูรณ์จนสามารถเห็นความงามมาตรฐานได้ บางคนอาจทำสมาธิ บางคนอาจฝึกฝนทางศิลปะจนชำนา ญ
3. กลุ่มที่เชื่อว่า หลักเกณฑ์ในการตัดสินสุนทรียศาสตร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม
เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า สัมพัทธพิสัย ” ( Relativism ) เป็นกลุ่มที่มีแนวคิดคล้ายกับกลุ่มจิตพิสัย แต่ต่างกันตรงที่กลุ่มสัมพัทธพิสัยนั้นมีความเชื่อว่า กฎเกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น หรือขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ ตลอดจนดิน ฟ้า อากาศของแต่ละพื้นที่ โดยไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้วิจารณ์ เพราะผู้วิจารณ์จะต้องวางตัวเป็นกลางและต้องสำนึกอยู่ในใจเสมอว่า ตนเองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคม ดังนี้แล้ว เกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์จึงเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมบ้าง ตามสภาพของภูมิอากาศ ภูมิประเทศนั้น ๆ บ้าง แล้วแต่สภาวะแวดล้อมจะพาไป นั่นเอง
การตัดสินคุณค่าความงามสามแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นเพียงขั้นแรก ในการเข้าสู้ความซาบซึ้งของสุนทรียภาพในสิ่งแวดล้อมทั่วไปเท่านั้น ถ้าศึกษาต่อจะพบว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ที่แท้จริงนั้นคือการศึกษาเกี่ยวกับ ศิลปะ(Art) โดยทั่วไป
                       สุนทรียภาพ  คือ  ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่มีความงาม  ความไพเราะ  และความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าของความงามจะก่อให้เกิดประสบการณ์  และถ้าได้ผ่านการศึกษาอบรมจนเป็นนิสัยจะกลายเป็นรสนิยม  (Taste)  ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากปฏิกิริยาของการรับรู้ทางการเห็น  การฟัง  และเป็นที่มาของการรับรู้ความงามทางด้านทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฎศิลป์  โดยการรับรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้จะมีอยู่  แบบ  คือ  แบบตั้งใจ  แบบไม่ตั้งใจ  หรือแบบที่เลือกสรรตามความ  พอใจที่จะรับรู้  โดยอาศัยองค์ประกอบของสุนทรียวัตถุ  คือ  วัตถุทางธรรมชาติ  วัตถุทางศิลปกรรม  และองค์ประกอบของประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ  แต่ก็ต้องประกอบด้วยคุณค่าทางความงามและตัวของผู้รับรู้ด้วย


ดังนั้นถ้าจะศึกษาเรื่องของความงามก็จะต้องกล่าวถึง  สุนทรียทัศน์  คือ  มนุษย์เป็นคนตัดสินความงาม  มนุษย์จึงเป็นผู้พบเห็นความงาม  ถ้าไม่มีมนุษย์ความงามก็ไม่เกิดหรือความงามไม่ได้อยู่ที่มนุษย์  แต่ความงามอยู่ที่วัตถุถึงมนุษย์ไม่พบเห็นความงาม  ความงามก็ยังคงอยู่หรือความงามไม่ได้ขึ้นอยู่กับทั้ง  2  สิ่ง  แต่ความงามเกิดจากความสัมพันธ์ของทั้ง  2  สิ่ง  หรือความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจกับสิ่งที่ถูกสนใจ  หรืออีกประการหนึ่งคือ  ความงาม  ความรู้สึกเพลิดเพลิน  เป็นความชอบของแต่ละบุคคล

การเรียนรู้เพื่อสัมผัสความงาม

                การรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งมี  3  วิธี1.แบบโดยตั้งใจ  (Intention  or  Interesting)  มีความสนใจและความตั้งใจที่จะมองเห็นโดยตรง2.แบบโดยไม่ตั้งใจ  (Un – Intention  or  Disinteresting)  รับรู้ค่าความงามที่มีอยู่ในธรรมชาติแบบไม่รู้ตัว3.แบบรสนิยม  (Taste)  เป็นความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่า  สามารถเลือกในสิ่งที่ชอบเลือกสรรพคุณ  ให้กับตนเองได้  มิใช่ความชอบตามกระแสนิยม 

สภาวะธรรมชาติมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ทางด้านความงาม                การศึกษาสุนทรียศาสตร์เป็นลักษณะของการเรียนรู้สภาวะธรรมชาติโดยตรง  ซึ่งความงามในธรรมชาติเองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  จะแบ่งออกเป็น  3  ระดับ  คือ1.การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ  (Natural  Movement)  ได้แก่  การขึ้น ลง  ของดวงอาทิตย์  เป็นต้น2.ภาพลักษณ์ตามธรรมชาติ  (Natural Imagery)  เช่น  การพบเห็นความงามตามธรรมชาติ  เช่น  ดอกไม้  เมฆ  ทะเล  ภูเขา  ฯลฯ3.เสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  (Natural  Sound)  เช่น  การฟังเสียงสัตว์หรือเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เป็นต้น

ความแตกต่างของสุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญากับเชิงพฤติกรรม

1.สุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญา  (Philosophical  Aesthetics)  เป็นการเรียนรู้โดยการสนทนา  ถกเถียง  บรรยาย  อาศัยเรื่องความจริงที่สัมผัสได้  (Reality)  ข้อเท็จจริงที่อธิบายได้  (Fact)  และความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง  (Truth)
2.สุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรม  (Psychological  Aesthetics)  เป็นการปฏิบัติให้เกิดประสบการณ์สุนทรีย  เป็นการเรียนรู้ด้วยการฝึกฝน     ซึ่งความรู้ทั้ง  2  แบบนี้ต้องอาศัยสุนทรียะวัตถุ  (Aesthetics  Objects)  ทั้งวัตถุทางธรรมชาติ  (Natural  object)  และวัตถุทางศิลปกรรม  (Artistic  Object)  แล้วนำประสบการณ์ตรงมาเป็นรูปแบบของการสร้างสรรค์งานศิลปะ  ซึ่งแบ่งออกเป็น  3  ฐานศาสตร์  คือ1.ฐานศาสตร์ทางการเห็น ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  เป็นต้น2.ฐานศาสตร์ของการได้ยิน  ว่าด้วยเรื่องของดนตรี  การใช้เสียงอย่างมีระบบ  เกี่ยวเนื่องกับตัวโน้ต
3.ฐานศาสตร์ของการเคลื่อนไหว  ว่าด้วยเรื่องละครและการแสดงต่าง ๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยใช้ความคิดและการสร้างสรรค์

สุนทรียภาพ

ความหมายของสุนทรียศาสตร์

 

ในที่นี้ขอใช้ความหมายจากหนังสือพจนานุกรมศัพท์ศิลป์  ฉบับไทย อังกฤษ  (2530 : 7)  ได้อธิบายความหมายของคำว่า สุนทรีย์และสุนทรียศาสตร์  Aesthetic  ว่า หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยความนิยมความงามหรือความนิยมในความงาม เป็นอารมณ์  ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งงดงามไพเราะรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรืองานศิลปะ ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นด้วยประสบการณ์

     การศึกษาอบรมและพัฒนาเป็นรสนิยมความรู้และความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ สามารถเสริมสร้างพัฒนาการทางสุนทรียภาพให้เพิ่มขึ้น รู้และเข้าใจคุณค่าของความงาม มีผู้รู้หลายท่านให้ความหมายเกี่ยวกับคำว่า  สุนทรีย์และสุนทรียศาสตร์” ไว้มากมายหลายท่าน ในที่นี้ขอใช้ความหมายจากหนังสือพจนานุกรมศัพท์ศิลป์ฉบับไทย อังกฤษ  (2530 : 7)  ได้อธิบายความหมายของคำว่า สุนทรีย์และสุนทรียศาสตร์  Aesthetic  ว่า  หมายถึง  วิชาที่ว่าด้วยความนิยมความงามหรือความนิยมในความงาม เป็นอารมณ์ ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งงดงามไพเราะรื่นรมย์  ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรืองานศิลปะ ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นด้วยประสบการณ์ การศึกษาอบรม และพัฒนาเป็นรสนิยมความรู้และความเข้าใจทางประวัติศาสตร์  สามารถเสริมสร้างพัฒนาการทางสุนทรียภาพให้เพิ่มขึ้น  รู้และเข้าใจคุณค่าของความงาม
                อเล็กซานเดิร์กอตตรีบ  โบมการ์เด้น  (Alexander  Gottrib  Baumgaten)  นักปรัชญาชาวเยอรมัน  ได้ตีพิมพ์ผลงานเป็นครั้งแรก เริ่มจากงานเรื่อง  The  Aestheteca และเป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า สุนทรียศาสตร์ว่า  Aesthetic  ซึ่งโบมการ์เด้นใช้อธิบาย  การรับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส  ซึ่งเป็นสิ่งที่โบมการ์เด้นค้นพบในบทกวีนิพนธ์  และขยายไปสู่ศิลปะสาขาอื่น ๆ และได้ใช้คำว่าสุนทรียศาสตร์เป็นครั้งแรกในหนังสือของเขเอง  ชื่อผลสะท้อนของกวีนิพนธ์ เขาได้พิจารณาคำจากในภาษากรีก  คือ  การกำหนดรู้  Aesthesis  และจึงเริ่มใช้คำว่า  Aesthetics  อธิบายการรับรู้ทางประสาทสัมผัส จนได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งสุนทรียศาสตร์  และยังได้อธิบายความหมายของคำว่าสุนทรียศาสตร์  (Aesthetics)  ไว้ว่า1.สุนทรียศาสตร์ เป็นความรู้จากประสบการณ์  (Conceptual  Knowledge)  ซึ่งเป็นการนำเอาเหตุผลมาตัดสินความงาม2.   สุนทรียศาสตร์ เป็นความรู้โดยตรง  (Intuitive  knowledge)  เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หรือเรียกว่าการหยั่งรู้เป็นความรู้ที่สูงกว่าปกติและเป็นการนำความรู้ที่ใช้มาตัดสินความงาม โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุผลอื่นมาเกี่ยวข้องAesthetic  สุนทรียศาสตร์  คือ  สาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา  เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องของความงาม  ความนิยมในความงาม  เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหามาตรฐานของความงามทางด้านศิลปะ ทั้งวิจิตรศิลป์  (Fine  Art)  และประยุกต์ศิลป์  (Applied  Art) ซึ่งในสมัยกรีกโบราณใช้กล่าวถึงเรื่องของความงาม ความสะเทือนใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางการรับรู้  (Sense  perception) และพัฒนา

Adminster



ชื่อ นายพิพัฒน์พงษ์ พงกะพันธ์
ชื่อเล่น สเนค
เกิดวันที่ 4 กันยายน 2537 อายุ 19 ปี
กำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย
สถานะ โสด