วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของสุนทรียภาพ

สุนทรียภาพ คือ อะไ







   

สุนทรียภาพ คื ความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าของความงามที่มีอยู่ในสรรพสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ และทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้น อันเกิดจากความพึงพอใจในความสุขที่ได้สัมผัสกับความงามโดยปราศจากความคิดเป็นเจ้าของและหวังผลตอบแทน
การตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ คืออะไร 
การตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ คือ การที่เราใช้จิตใจแสดงปฏิกิริยาต่อสภาพการณ์ในสิ่งแวดล้อม หรือการที่จิตประเมินค่าวัตถุที่มีคุณค่าทางความงาม ที่เร้าให้เกิดความรู้สึกภายในจิตใจ แม้ว่าความงามจะขึ้นอยู่กับจิต แต่ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกตามใจชอบ หากแต่ต้องขึ้นอยู่กับคุณค่าที่มีอยู่ในวัตถุนั้น ๆ ด้วย ฉะนั้นในการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางสู่ความซาบซึ้งควรมีความรู้ในการตัดสินคุณค่าความงาม
มุมมองทางความคิดที่มีความแตกต่างกัน หลากหลายออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ว่าใช้อะไรเป็นหลักในการตัดสินสิ่งต่าง ๆ และการตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มแนวคิด ดังนี้
1. กลุ่มที่ใช้ตนเองเป็นตัวตัดสิน
เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า จิตพิสัยหรืออัตวิสัย ” ( Subjectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า ความรู้ ความจริงและความดีงามทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีความจริงในตัวเอง หากแต่เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเท่านั้น ดังนั้น กฎเกณฑ์ในทางความรู้ ความจริงและความดีงามนี้จึงไม่มีอยู่จริง มนุษย์เท่านั้นที่มีอยู่จริงและจะเป็นตัวตัดสิน พร้อมทั้งเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมา มนุษย์แต่ละคนต่างมีมาตรวัดความจริงต่างกันออกไปโดยไม่ขึ้นอยู่กับใครหรือสิ่งใด เกณฑ์การตัดสินแบบนี้สามารถทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองได้ แต่หากความรู้สึกเชื่อมั่นนี้มีมากจนเกินไปอาจจะส่งผลทำให้เราเป็นผู้ที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตัวเอง ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลต่อไปคือ ทำให้เรามีโลกทัศน์ที่แคบ และเดียวดายในโลกกว้างนี้
2. กลุ่มที่เชื่อว่า มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวที่จะใช้ตัดสินได้
เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า วัตถุพิสัยหรือปรวิสัย ” ( Objectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า มีเกณฑ์มาตรฐานตายตัวแน่นอนในทางศิลปะ ซึ่งสามารถนำไปตัดสินผลงานได้ในทุกสมัย เกณฑ์มาตรฐานนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกใครหรือศิลปินคนไหน กลุ่มนี้มีความเชื่ออีกว่า สุนทรียธาตุมีอยู่จริง แม้ว่าเราจะเข้าถึงมันไม่ได้ก็ตาม แต่มันก็มีอยู่จริง และด้วยเหตุผลนี้ การที่เราตัดสินศิลปะออกมาไม่เหมือนกันก็เพราะเราแต่ละคนไม่สามารถเข้าถึงสุนทรียธาติที่แท้จริงได้หรือตัวจริงมาตรฐานนั่นเอง การที่เราจะเข้าถึงเกณฑ์มาตรฐานนี้ได้นั้น เราจำเป็นต้องฝึกพัฒนาจิตให้สมบูรณ์จนสามารถเห็นความงามมาตรฐานได้ บางคนอาจทำสมาธิ บางคนอาจฝึกฝนทางศิลปะจนชำนา ญ
3. กลุ่มที่เชื่อว่า หลักเกณฑ์ในการตัดสินสุนทรียศาสตร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม
เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า สัมพัทธพิสัย ” ( Relativism ) เป็นกลุ่มที่มีแนวคิดคล้ายกับกลุ่มจิตพิสัย แต่ต่างกันตรงที่กลุ่มสัมพัทธพิสัยนั้นมีความเชื่อว่า กฎเกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น หรือขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ ตลอดจนดิน ฟ้า อากาศของแต่ละพื้นที่ โดยไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้วิจารณ์ เพราะผู้วิจารณ์จะต้องวางตัวเป็นกลางและต้องสำนึกอยู่ในใจเสมอว่า ตนเองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคม ดังนี้แล้ว เกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์จึงเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมบ้าง ตามสภาพของภูมิอากาศ ภูมิประเทศนั้น ๆ บ้าง แล้วแต่สภาวะแวดล้อมจะพาไป นั่นเอง
การตัดสินคุณค่าความงามสามแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นเพียงขั้นแรก ในการเข้าสู้ความซาบซึ้งของสุนทรียภาพในสิ่งแวดล้อมทั่วไปเท่านั้น ถ้าศึกษาต่อจะพบว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ที่แท้จริงนั้นคือการศึกษาเกี่ยวกับ ศิลปะ(Art) โดยทั่วไป
                       สุนทรียภาพ  คือ  ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่มีความงาม  ความไพเราะ  และความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าของความงามจะก่อให้เกิดประสบการณ์  และถ้าได้ผ่านการศึกษาอบรมจนเป็นนิสัยจะกลายเป็นรสนิยม  (Taste)  ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากปฏิกิริยาของการรับรู้ทางการเห็น  การฟัง  และเป็นที่มาของการรับรู้ความงามทางด้านทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฎศิลป์  โดยการรับรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้จะมีอยู่  แบบ  คือ  แบบตั้งใจ  แบบไม่ตั้งใจ  หรือแบบที่เลือกสรรตามความ  พอใจที่จะรับรู้  โดยอาศัยองค์ประกอบของสุนทรียวัตถุ  คือ  วัตถุทางธรรมชาติ  วัตถุทางศิลปกรรม  และองค์ประกอบของประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ  แต่ก็ต้องประกอบด้วยคุณค่าทางความงามและตัวของผู้รับรู้ด้วย


ดังนั้นถ้าจะศึกษาเรื่องของความงามก็จะต้องกล่าวถึง  สุนทรียทัศน์  คือ  มนุษย์เป็นคนตัดสินความงาม  มนุษย์จึงเป็นผู้พบเห็นความงาม  ถ้าไม่มีมนุษย์ความงามก็ไม่เกิดหรือความงามไม่ได้อยู่ที่มนุษย์  แต่ความงามอยู่ที่วัตถุถึงมนุษย์ไม่พบเห็นความงาม  ความงามก็ยังคงอยู่หรือความงามไม่ได้ขึ้นอยู่กับทั้ง  2  สิ่ง  แต่ความงามเกิดจากความสัมพันธ์ของทั้ง  2  สิ่ง  หรือความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจกับสิ่งที่ถูกสนใจ  หรืออีกประการหนึ่งคือ  ความงาม  ความรู้สึกเพลิดเพลิน  เป็นความชอบของแต่ละบุคคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น