วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนรู้เพื่อสัมผัสความงาม

                การรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งมี  3  วิธี1.แบบโดยตั้งใจ  (Intention  or  Interesting)  มีความสนใจและความตั้งใจที่จะมองเห็นโดยตรง2.แบบโดยไม่ตั้งใจ  (Un – Intention  or  Disinteresting)  รับรู้ค่าความงามที่มีอยู่ในธรรมชาติแบบไม่รู้ตัว3.แบบรสนิยม  (Taste)  เป็นความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่า  สามารถเลือกในสิ่งที่ชอบเลือกสรรพคุณ  ให้กับตนเองได้  มิใช่ความชอบตามกระแสนิยม 

สภาวะธรรมชาติมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ทางด้านความงาม                การศึกษาสุนทรียศาสตร์เป็นลักษณะของการเรียนรู้สภาวะธรรมชาติโดยตรง  ซึ่งความงามในธรรมชาติเองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  จะแบ่งออกเป็น  3  ระดับ  คือ1.การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ  (Natural  Movement)  ได้แก่  การขึ้น ลง  ของดวงอาทิตย์  เป็นต้น2.ภาพลักษณ์ตามธรรมชาติ  (Natural Imagery)  เช่น  การพบเห็นความงามตามธรรมชาติ  เช่น  ดอกไม้  เมฆ  ทะเล  ภูเขา  ฯลฯ3.เสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  (Natural  Sound)  เช่น  การฟังเสียงสัตว์หรือเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เป็นต้น

ความแตกต่างของสุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญากับเชิงพฤติกรรม

1.สุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญา  (Philosophical  Aesthetics)  เป็นการเรียนรู้โดยการสนทนา  ถกเถียง  บรรยาย  อาศัยเรื่องความจริงที่สัมผัสได้  (Reality)  ข้อเท็จจริงที่อธิบายได้  (Fact)  และความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง  (Truth)
2.สุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรม  (Psychological  Aesthetics)  เป็นการปฏิบัติให้เกิดประสบการณ์สุนทรีย  เป็นการเรียนรู้ด้วยการฝึกฝน     ซึ่งความรู้ทั้ง  2  แบบนี้ต้องอาศัยสุนทรียะวัตถุ  (Aesthetics  Objects)  ทั้งวัตถุทางธรรมชาติ  (Natural  object)  และวัตถุทางศิลปกรรม  (Artistic  Object)  แล้วนำประสบการณ์ตรงมาเป็นรูปแบบของการสร้างสรรค์งานศิลปะ  ซึ่งแบ่งออกเป็น  3  ฐานศาสตร์  คือ1.ฐานศาสตร์ทางการเห็น ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  เป็นต้น2.ฐานศาสตร์ของการได้ยิน  ว่าด้วยเรื่องของดนตรี  การใช้เสียงอย่างมีระบบ  เกี่ยวเนื่องกับตัวโน้ต
3.ฐานศาสตร์ของการเคลื่อนไหว  ว่าด้วยเรื่องละครและการแสดงต่าง ๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยใช้ความคิดและการสร้างสรรค์

1 ความคิดเห็น: