วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ร้อยกรองไทย


ร้อยกรองไทย

1.โคลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับวรรณยุกต์ คือ เอก โท และบังคับสัมผัส มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นคำประพันธ์พื้นเมืองไทยทางเหนือและอีสานก่อนจะแพร่หลายมายังภาคกลาง



โคลงสองสุภาพ
หนึ่งบทมี 14 คำ แบ่งเป็น 3 วรรค 5 - 5 - 4 คำ ตามลำดับ และอาจเพิ่มสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสส่งจากท้ายวรรคแรกไปยังท้ายวรรคที่สอง ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท๐ เอก ๐ ๐ โท
เอก โท ๐ ๐(๐ ๐)
๏ โคลงสองเป็นอย่างนี้แสดงแก่กุลบุตรชี้
เช่นให้เห็นเลบงแบบนา ๚ะ
๏ ไก่ขันเขียวผูกช้างมาเทียมทั้งสองข้าง
แนบข้างเกยนาง ๚ะ
๏ ไป่ทันสางสั่งให้พระแต่งจงสรรพไว้
เยียวปู่เจ้าเรามา ๚ะ
๏ เผือจักลาแม่ ณ เกล้าอยู่เยียวเจียนรุ่งเช้า
จักช้าทางไกล ๚ะ
— ลิลิตพระลอ





หากแต่งหลาย ๆ บท นิยมส่งสัมผัสระหว่างบท จากท้ายบทแรกไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคแรกของบทต่อไป ตัวอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น